จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- Details
- Parent Category: ROOT
- Category: จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิชาการ
- Published: 01 August 2019
- Written by pakron
- Hits: 31033
PUBLICATION ETHICS
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิชาการ
เพื่อให้การตีพิมพ์วารสารเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับ สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ และจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย จึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์ ดังนี้
สำหรับผู้เขียน(Authors)
1. ผู้เขียนจะต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องผ่านการตรวจการพิมพ์ซ้ำด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกิน 20% พร้อมแนบใบรับรองการตรวจสอบส่งมายังกองบรรณาธิการ
3. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานของผู้เขียน และผู้เขียนร่วมตามชื่อที่ปรากฏไว้จริง
4. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องอ้างอิงผลงานวิชาการของผู้อื่นให้ครบถ้วนและระบุไว้ในเอกสารอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ หากมีการนำข้อความมาใช้ในผลงานของตนเอง
5. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ มีความถูกต้องของเนื้อหา รายงานข้อมูลและผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยจริง และรับผิดชอบต่อความคิดเห็นหรือข้อสรุปในบทความที่นำมาตีพิมพ์
6. หากเป็นบทความวิจัยที่ได้รับทุนการสนับสนุน ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำงานวิจัยของท่านในบทความ หรือต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน (ถ้ามี)
สำหรับกองบรรณาธิการ (Editors)
1. กองบรรณาธิการวารสารจะไม่รับตีพิมพ์ผลงานที่ได้ตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
2. กองบรรณาธิการวารสารมีระบบการตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำ/ซ้ำซ้อน (Duplications/Plagiarism) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะตีพิมพ์ไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ทั้งนี้ หากตรวจพบกองบรรณาธิการจะหยุดดำเนินการ และติดต่อผู้เขียนเพื่อให้มีการชี้แจงประกอบการพิจารณาในการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ผลงาน
3. กองบรรณาธิการวารสารพิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ โดยคัดเลือกผลงานที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมถึงผลงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
4. กองบรรณาธิการวารสารต้องตัดสินโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ และพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานข้อมูลต่างๆ จากผู้เขียน
5. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ
6. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
7. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องรักษามาตรฐาน รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
สำหรับผู้ประเมินบทความ (Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความจะต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และปฏิบัติตามกระบวนการประเมิน ปราศจากอคติและความคิดเห็นส่วนตัวมาร่วมเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาคุณภาพจากความสำคัญ ความทันสมัย และความชัดเจนของเนื้อหาในบทความ รวมถึงคุณภาพการวิเคราะห์และการเข้มข้นของผลงาน
3. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาและระบุผลงานวิจัยที่สำคัญ มีความสอดคล้องกับบทความที่กำลังดำเนินการประเมินแต่ผู้เขียนไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับแก้ไขและพัฒนาคุณภาพของบทความ
4. ผู้ประเมินบทความมีบทบาทต่อการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงานจากผู้เขียน ทั้งนี้ หากพบว่ามีความซ้ำซ้อนของผลงานให้แจ้งข้อมูลที่ตรวจพบมายังกองบรรณาธิการวารสาร
5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
6. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้เขียน เช่น การรู้จักกันเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมโครงงาน ผู้ร่วมงาน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
รายละเอียดเพิ่มเติม : มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
https://docs.google.com/document/d/17S2YlCovpCbAvxrnthW3T7iXNLABAPSXTFJVQRiuR-I/edit
ที่มา : ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)